วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

สายพันธ์ปลาหมอสี


สายพันธุ์ปลาหมอสี











FLOWER HORN 
ในปัจจุบัน Flower Horn นั้นจะมีสีแดงจัด และเข็มขึ้น แต่จะมีทั้งโทนมืด และสว่างด้วยส่วนสีแดงบริเวณคอนั้นจะกินบริเวณ ที่กว้างขึ้นจงถึงกลางลำตัว หรือไปจนถึงส่วนหาง และลักษณะของสีเขียวจะเปลี่ยนไปทางโทนสีฟ้า หรือสีน้ำเงิน และลำตัว ของปลาจะมีสีที่หลากตาขึ้น เช่น สีทอง สีขาว สีชมพู เป็นต้น ซึ่งปลารุ่นก่อนหน้านี้จะมีเพียงสี แดง เขียว และดำ แต่ยังไงก็ แล้วแต่ความชอบส่วนตัวของแต่ละบุคคลว่าชอบแบบไหน

มาร์คกิ้ง หรือจุดกลางตัวปลา
มาร์คกิ้งหรือจุดกลางตัวปลาที่เป็นสีสัน และลักษณะเด่นอีกอย่างของปลา Flower Horn แต่เดิมนั้น มาร์คกิ้งควรมีอย่างน้อย 5 จุด โดยจะนับจากโคนหางไปเรื่อย ๆ ขนาดของจุดก็จะมีขนาดใหญ่ ไปเรื่อยๆ ปัจจุบันปลาที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์นั้นจะมีลายหรือลวดลายที่สวยงามขึ้น ไล่ตั้งแต่ บริเวณโคนหางไปจนถึงลำตัว แก้มจะมีสีที่ดำเข้ม และมีการพัฒนามาร์คกิ้งขึ้นจนมีเพิ่มขึ้นอีก ชั้นที่สอง บางคนเรียกว่า Twin Mark หรือ DubbleMark แต่เดิมจะพบปลาในลักษณะนี้น้อยมาก และมีมาร์คชั้นที่สองเพียงจุดเดียว แต่ในปัจจุบันนั้นมาร์คกิ้งชั้นที่สองนั้นจะมากขึ้นจากเดิม 5 - 7 จุดแล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เลี้ยงควรจะดุความเหมาะสม และความสมดุลของมาร์คมากกว่า หากมาร์คที่ หนาแน่นเกินไป ความสวยของปลาที่มีก็ลดลงไปด้วย 

ความมันวาวของเกล็ด
ความเงางามของเกล็ดปลานั้นก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงขึ้น พัฒนา ให้กลมกลืนกับสีสนของปลาโดยสังเกตได้จากปลาตัวไหนมีสีสัน ที่สวยงามแล้วนั้น จะต้องมีความเงางามของเกล็ดมากตามไปด้วย ปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อปลาชนิดนี้นั้น ปลาคุณภาพที่ดี ๆ ที่อายุยังน้อยหรือมีขนาดเล็กอยู่นั้นความเงางามของเกล็ดมีส่วน ในการตัดสินใจ และมีโอกาสที่ปลาจะพัฒนาในเรื่องของสีสัน หรือมุกบนตัวมากกว่าปลาที่ไม่มีความมันวาวของเกล็ด ซึ่งในปลา ลักษณะที่ไม่ดีนั้นจะถูกคัดออกตั้งแต่เด็ก ดังนั้นผู้เลี้ยงและชื่นชอบ Flower Horn ก็จะได้ปลารุ่นใหม่ที่มี ความมันวาวของเกร็ดมากยิ่งขึ้น
มุก บนตัวปลา Flower Horn
ปลา Flower Horn สวยๆ นั้นจะต้องมีมุกที่มากขึ้นและแน่นขึ้น ปลารุ่นใหม่ ๆ จึงได้พัฒนามุกด้วยซึ่งใน ปัจจุบันมุกจะเป็นสีฟ้า หรือในลักษณะมุกลอย ซึ่งจะดูมีความแวววาว และชัดเจนกว่ามุกแบบเดิม โดย สามารถเห็นได้จากปลาที่มีขนาดเล็ก หรืออายุน้อย ๆ ก็สังเกตเห็นแล้วครับ 

ความโหนกของหัว Flower Horn
สุดท้ายเลยก็คือ ลักษณะหัวที่โหนกซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญของ ปลาตระกูล Cross Breed อื่น ๆ อีกมากมายหลาย
เนื่องจากปลาตระกูลนี้จะมีเสน่ห์ที่ดึงใจให้ผู้เลี้ยงหันมาสนใจ ดังนั้นความโหนกของปลาชนิดนี้เป็นจุดดึงดูดใจที่ขาดไม่ได้ นักเพาะเลี้ยงจึงให้ความสนใจกับลักษณะเด่นนี้เป็นพิเศษใน การพัฒนาสายพันธุ์ Flower Horn


ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเฟาเวอร์ฮอร์น 
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Flower Horn นั้นหาก เทียบจากช่วงแรกๆ นั้น กระแสความนิยมของปลาตระกูลนี้ ลดลงไปบ้าง และมีไตรทองและ เท็กซัสแดงที่มีกระแสของความนิยมที่สูงขึ้นเรื่อยๆ หากเรามามองถึง ปัญหาจริง ๆ แล้วนั้น เริ่มมาจากความเห็นแก่ตัว และความมักง่าย ความไม่ซื่อสัตย์กับลูกค้า ซึ่งลูกค้า ที่ไม่มีความรู้ เมื่อซือปลาที่ไม่มีคุณภาพ แต่ราคาสูงเมื่อปลาโตขึ้น ปลามีลักษณะที่ไม่สวยงาม ไม่คุ้ม กับเงินและเวลาที่ผู้เลี้ยงเสียไปทำให้ผู้เลี้ยงหมดกำลังใจที่จะซื้อปลาตัวต่อๆ ไปมาเลี้ยง 





ชื่อไทย ปลาออสก้า
ชื่ออังกฤษ Oscar , Velvet Cichlid
ถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นปลาที่มีถิ่นดั้งเดิมอยู่ที่ประเทศบราซิล พบในแม่น้ำอเมซอน พารานา ริโอเนโกร
รูปร่างลักษณะ ปลาออสก้า เป็นปลาลำตัวกว้างลึก ปัจจุบันปลาออสก้าที่เลี้ยงในเมืองไทย ทั้งปลาออสก้าลายเสือและปลาออสก้าสีทอง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ผสมขึ้นได้เอง ในเมืองไทย ส่วนปลาออสก้าพันธุ์ดั้งเดิมนั้นมีสีค่อนข้างดำ มีเกล็ดสีแดงอยู่เพียงไม่กี่เกล็ด ปลาออสก้าลายเสือ มีลำตัวสีเขียวปนเทาลายข้างตัว เป็นสีส้ม เมื่อมีการให้อาหารอย่างดี คัดเลือกและผสมพันธุ์เรื่อยๆ มา ก็จะได้ปลาออสก้าลายแดง และเพิ่มขึ้นเป็นออสก้าสีทอง และเผือก
อุปนิสัย ปลาออสก้าเป็นปลาที่แข็งแรง กินเก่ง นิสัยค่อนข้างดุ ไม่ควรปล่อยเลี้ยงรวมกันกับปลาอื่นๆ นอกจากปลาออสก้าด้วยกัน และมีขนาดไร่เลี่ยกัน ปลาออสก้าเมื่อถึงคราวผสมพันธุ์ ควรจะคัดมาเป็นคู่ ปลาออสก้าตัวผู้มีเดือยแหลมยื่นออกมาใต้ท้อง ตัวเมียไม่มีเดือย แต่มีรูกลมๆ สำหรับวางไข่แทน ปลาออสก้าวางไข่ติดกับวัสดุในน้ำเช่น ผนังตู้ แผ่นกระเบื้อง กระถางดินเผา เมื่อตัวเมียวางไข่ติดกับที่สำหรับเกาะแล้ว ปลาตัวผุ้จะตามเข้ามาฉีดน้ำเชื้อ ผสมกับไข นักเลี้ยงปลาตู่ที่มีความชำนาญจะนำไข่ที่เกาะติดมาใส่ตู้ฟัก และเลี้ยงลูกอ่อนด้วยตนเอง
การเลี้ยงดู ปลาออสก้าเป็นปลาที่กินจุ และกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร ปลาออสก้าจะเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรงสมบูรณ์ และมีสีจัด ถ้าได้กินลูกกุ้งเป็นประจำ นอกจากนั้นก็เป็นลูกปลา ลูกน้ำ ไส้เดือน .................







หมออูรู Triangle Cichlid ชื่อทางวิทยาศาสตร์ UARU AMPHIACANTHOIDES ( Heckel )

ถิ่นอาศัยของปลา ลุ่มแม่น้ำอเมซอน แถบประเทศบราซิล และกายอานา ขนาดเมื่อโตเต็มที่นั้นประมาณ 10 นิ้ว อุณหภูมิที่เหมาะสมนั้นอยู่ในช่วง 27 องศาเซลเซียส สภาพของน้ำต้องเป็นน้ำสะอาด ระบบการหมุ่นเวียนดี
ลักษณะทั่วไปของปลานั้น ลักษณะรูปร่างกลมแบนข้าง ตาอยู่ค่อนไปทางด้านบน หางจะกลมมน ครีบกระโดงหลังจะเป็นแนวติดกัน ลำตัวนั้นจะมีสีน้ำตาลจนถึงน้ำตาลอมดำกลางลำตัวจะมีแถบสีดำเป็นปื้นยาวตั้งแต่ครีบว่ายจนจรดโคนหาง ตอนปลายังมีขนาดเล็กนั้นปลาจะมีสีน้ำตาลอมดำมีจุดสีขาวอมน้ำตาลอยู่กระจัดกระจายตลอดลำตัวเมื่อปลาโตขึ้นมานั้นลักษณะของปลาจะเริ่มเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เป็นแถบสีดำพาดขวางลำตัวไม่เป็นระเบียบ รูปร่างโดยร่วมนั้นจะมีลักษณะคล้ายกับปลาปอมปาดัวร์
อุปนิสัยของปลาชนิดนี้นั้นค่อนข้างดุ ควรที่จะมีที่หลบซ่อนให้เพราะว่าปลาชนิดนี้นั้นมักจะตกใจได้ง่าย
การแพร่พันธุ์นั้นโดยการวางไข่
การสังเกตเพศปลาดูได้จากปลายครีบกระโดงหลังของปลาตัวผู้นั้นปลายครีบกระโดงจะแหลมยาวมากกว่าปลาตัวเมีย ตู้ที่เลี้ยงปลา ชนิดนี้นั้นควรจะเป็นตู้ปลาที่มีขนาดกว้าง และมีหินขนาดใหญ่อยู่ด้วยเพื่อใช้เป็นที่หลบซ่อนของปลา และยังสามารถตกแต่งด้วย ต้นไม้น้ำได้อีกด้วย เนื่องจากเจ้าอูรูนั้นไม่ทำลายต้นไม้
อาหารของปลาชนิดนี้นั้นได้แก่ ลูกน้ำ ไรทะเล หนอนแดง ลูกปลา ลูกกุ้ง และอาหารสำเร็จรูปทั่วไป




หมอเก๋า หมอพอลลี่ Polystigma Cichlid, Polly Cichlid ชื่อทางวิทยาศาสตร์ HAPLOCROMIS POLYSTIGMA
ถิ่นอาศัย พบในทะเลสาปมาลาวี ทวีปอัฟริกา ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 10 นิ้ว อุณหภูมิที่เหมาะสม 24 - 27 องศาเซลเซียส สภาพน้ำที่มีค่าความ เป็นด่างประมาณ 7.7 - 8.6 เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงปลาชนิดนี้
ลักษณะทั่วไปของปลาชนิดนี้ ลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมเรียวยาว ส่วนหัวค่อนข้างแบนลงและแหลมเล็กน้อย ตาอยู่ค่อนไปทางส่วนหลัง ริมฝีปากค่อนข้างหนา หางจะกลมมน และเว้าเข้าเล็กน้อย โคนหางคอดเล็ก หน้าผากจะลาดโค้งลงมา ลำตัวจะมีสีน้ำตาล อ่อนจนถึงเข้ม มีสีฟ้าอมขาวแซมขึ้นมาอยู่ กระจัดกระจายระหว่างเกล็ด ขอบเกล็ดจะมีสีน้ำตาลเข้มแซมเป็นบางเกล็ด นอกจาก นี้มีสีน้ำตาล เข้มเป็นแถบยาวพาดตามลำตัวตั้งแต่ปลายตาจรดโคนหาง ครีบกระโดงหลังมีสีน้ำตาลอ่อนมีจุดสีฟ้า ขึ้นเป็นแนวยาว และมีจุดสีขาวคั่นระหว่างขอบซึ่งมีสีน้ำตาลเข้ม ครีบทวารมีสีน้ำตาลอ่อนตอนปลาย จะมีสีส้มอมเหลืองถึงน้ำตาล หางมีสีฟ้า อมน้ำตาลและมีจุดสีน้ำตาลอมส้มอยู่กระจาย ส่วนหัวมีสีฟ้า อมน้ำตาล
การสังเกตเพศของปลาชนิดนี้ดูจากรูปร่างของปลาตัวเมียจะอ้วนป้อมและลำตัวสั้นกว่าปลาตัวผู้ สีสันของปลาตัวผู้จะมีความสด และเข้มกว่าอย่างเห็นได้ชัด ปลายครีบกระโดงหลัง และครีบทวาร ของปลาตัวผู้จะยื่นแหลมกว่า
การแพร่พันธุ์โดยการวางไข่ และปลาตัวเมียจะอมไข่ไว้ในปากเพื่อทำการฟักไข่ภายในปาก โดยที่ ปริมาณของไข่แต่ละครอกจะมี ประมาณ 80 - 100 ฟอง
อาหารของปลาชนิดนี้ได้แก่ ลูกน้ำ ไรทะเล หนอนแดง กุ้งฝอย และอาหารสำเร็จรูปทั่วไป









หมอมานาเกวนเซ่ Manaquense Cichlid ชื่อทางวิทยาศาสตร์ CICHLASOMA MANAQUENSE
ถิ่นอาศัย ประเทศนิการากัว ตอนกลางของทวีปอเมริกากลาง ขนาดเมื่อ โตเต็มที่ 16 นิ้ว อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับปลาชนิดนี้ 26 องศาเซลเซียส สภาพน้ำค่าความเป็นกลางจนถึงเป็นด่างอ่อนประมาณ 7.0 -7.5 ลักษณะทั่วไปของปลาชนิดนี้ ลักษณะรูปร่างกลมมนแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวแบนลงและหน้าผากเว้าเข้าเล็กน้อย ตาโตอยู่ค่อนไปทาง ส่วน หลัง ริมฝีปากหนาและยื่นไปข้างหน้า หางเว้าเข้าไปตรงกลางเล็กน้อย ขอบตามีสีแดงจนถึงน้ำตาลเข้ม ลำตัวมีสีขาวอมน้ำตาล หรือขาวอมเหลือง มีความวาว มีจุดสีดำอยู่กระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ ส่วนหัวจะมีสีทอง เหลือบแดง ครีบและหางมีสีเช่นเดียวกับ ลำตัว
การสังเกตเพศปลานั้นดูได้จากขนาดของปลาเป็นอันดับแรก เพราะว่าปลาตัวผู้จะมีรูปร่างที่ยาว และเรียวกว่าปลาตัวเมีย สีสันของลำตัว จะเข้มและสดกว่าตัวเมีย
การแพร่พันธุ์โดยการวางไข่ตามก้อนหิน และพื้นตู้
อุปนิสัยของปลาชนิดนี้ค่อนข้างจะดุและก้าวร้าวเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงที่ปลาใกล้ผสมพันธุ์ มักจจะชอบขุดหรือคาบก้อนหิน เพื่อทำเป็นแอ่งที่ใช่ในการผสมพันธุ์ สำหรับไข่ปลาในแต่ละครอก นั้นจะมีจำนวนประมาณ 200 - 600 ฟอง ไข่ปลาจะใช้เวลาใน การฟักตัวประมาณ 3 - 4 วัน
อาหารของปลาชนิดนี้ได้แก่ ลูกน้ำ ไรทะเล หนอนแดง ลูกกุ้ง และอาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ







หมอส้มจุด Orange Chromideชื่อทางวิทยาศาสตร์ ETROPIUS MACULATUS 


ถิ่นอาศัย ประเทศศรีลังกา และอินเดีย ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 3.2 นิ้วสภาพน้ำที่เหมาะสมนั้นประมาณ 7.8 - 8.2 อุณหภูมิที่เหมาะสมตั้งแต่ 24 - 28 องศาเซลเซียส
ลักษณะทั้วไปนั้น ลำตัวแบนข้างและกว้างคล้ายรูปไข่ ส่วนหัวค่อนข้างแหลม ริมฝีปากหนาและยื่น ออกไปเล็กน้อย ตาค่อนข้างโต และอยู่ค่อนไปทางส่วนหลัง หางจะแผ่กว้างมนตัดตรง ลำตัวมีสีเขียว มะกอกแซมด้วยสีเหลืองสด ตามแนวเกล็ดจะมีจุดเล็ก ๆ สีดำแซมอยู่อย่างเป็นระเบียบ บริเวณใต้ ปากจนถึงท้องจะมีสีเหลืองอมส้ม ครีบกระโดงหลังและทวารจะมีลักษณะกลมมนสีเขียวมะกอกอม เหลืองจาง หางจะมีสีเช่นเดียวกับครีบกระโดงแต่มีสีน้ำเงินอมขาว อยู่ด้านบนและล่างของหาง
การแพร่พันธุ์ โดยการวางไข่ตามก้อนหิน หรือพื้นกระจก ไข่แต่ละครอกจะมีประมาณ 100 - 300 ฟองไข่จะฟักเป็นตัว ประมาณ 2 วัน
การสังเกตเพศปลาดูได้จากสีสันของปลา โดยปลาตัวผู้นั้นจะมีสีที่สด และเข้มกว่าปลาตัวเมีย และ ลักษณะรูปร่างของปลา ตัวผู้จะเรียวยาวกว่าปลาตัวเมีย
อาหารของปลาชนิดนี้นั้นก็จะได้แก่ ลูกน้ำ ไรทะเล หนอนแดง และอาหารสำเร็จรูปทั่ว ๆ ไป





หมอไจแอนท์


จากทะเลสาปแทนแกนยีกานั้นได้ชื่อว่ามีลูกมากที่สุดในบรรดาปลาหมอสีด้วยกันเมื่อมีขนาดโตเต็มที่นั้นอาจให้ลูกได้กว่าหมื่นตัวต่อการผสมพันธุ์หนึ่งครั้งจำนวนลูกในแต่ละครอกของปลาหมอสีชนิดนี้เท่ากับปลาหมอสีส่วนใหญ่ในทะเลสาปมาลาวี 220 ครอก หมอสีส่วนใหญ่ของอเมริกากลาง 10 ครอก ปลาหมอแคระส่วนใหญ่ในอเมริกาใต้ 350 ครอก







ปลาหมอสีสกุลโทรเพียส 


ทะเลสาปแทนแกนยีกา 1000 ครอก ซึ่งในการเปรียบเทียบก็แสดงให้เห็นว่าปลาไจแอนท์นี้มีปริมาณของการขยายพันธ์ที่สูงเลยที่เดียว ถ้าหากจะถาม ว่ามีผลกระทบต่อปลาชนิดอื่น ๆ ในการดำรงในทะเลสาปนี้รึเปล่าก็ขอตอบว่า ไม่มี เพราะว่าธรรมชาติย่อมจะทำให้ทุกอย่างมีความสมดุลอยู่แล้วครับ ไม่งั้นคงไม่มีสิ่งที่เรียกว่า ปลาใหญ่กินปลาเล็ก พูดง่าย ๆ ก็คือ การอยู่รอดของลูกปลาทั้งหมดนั้นจึงเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอนครับ . . .
ปลาหมอสกุลโทรเฟียส อาทิเช่น มัวริอาย ดูบอยซี่ จะเป็นปลาอมไข่ โดยจะฟักไข่ในปลา และจะใช้เวลาในการฟักไข่ในปากนานที่สุดประมาณ 30 วัน พอไข่กลายเป็นตัวอ่อนนั้นจะมีขนาด 1.5 ซม. . . .
ลูกปลาหมอชนิดดั้งกล่าวนี้ก็สามารถว่ายน้ำออกมากสู่โลกภายนอกได้แล้ว แต่หากเมื่อมีภัย อันตรายมาใกล้ฝูงลูกปลาวัยอ่อนเหล่านี้ ก็ รีบว่ายเข้ามาหลบภัยในปากของแม่ปลาอย่างรวดเร็ว ส่วนการกินอาหารของลูกปลาเมื่ออยู่ในปากก็จะอาศัยช่วงที่แม่ปลาฮุบกินเข้ามาทางปาก . . .






หมอแซงแซว


นั้นได้ชื่อว่ามีอยู่เป็นจำนวนมากใน ทะเลสาปแทนแกนยีกา เหตุที่ทำให้มันขยายพันธุ์ได้ในอัตราการรอดของลูกปลาที่สูงนั้นก็น่าจะเป็นเพราะพฤติกรรมในการดูแลตัวอ่อนของปลาชนิดนี้ . . .
ปลาหมอแซงแซวจัดอยู่ในสกุล Neolamprologus ซึ่งเป็น ปลาหมอสีที่มีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นปลาที่ผสมพันธุ์ด้วย การวางไข่ และมักว่างไข่ตามถ้ำ หรือตามซอกหินขนาดเล็ก ๆ พ่อแม่ปลาชนิดนี้นั้นจัดเป็น พ่อแม่ที่ดีมาก มันสามารถปกป้องลูกน้อยของพวกมันจากฝูงปลาอื่น ที่แม้จะมีขนาดที่ใหญ่ กว่าพวกมันมากได้
นอกจากนี้นั้นลูกปลาครอกแรก ๆ ที่ออกมาก่อนนั้นก็ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงที่ดีครับ ลูกปลาครอกแรก ๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้นั้นมันก็จะช่วยพ่อแม่ของมันดูแลน้อง ๆ ให้พ้นจาก อันตรายที่อยู่รอบด้าน โดยการเฝ้าวนเวียนอยู่วงนอกของฝูงลูกปลา และปลารุ่นถัดมาก็ จะมีพฤติกรรมเช่นนี้สืบทอดกันต่อ ๆ มา . . . หมอสีสกุลนี้นั้นมักชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงครับ อย่างน้อย ก็ 8 - 10 ตัวขึ้นไป เพราะตามธรรมชาติที่มันอยู่นั้นจะหากิน กันเป็นฝูงใหญ่ โดยจะกินเศษตระไคร่น้ำที่เกาะอยู่ตามหิน ใต้ทะเลสาป อาหารหลักของปลาชนิดนี้นั้นโดยมากจะกิน พืชน้ำครับ เมื่อนำมาเลี้ยงนั้นหากนำอาหารที่มีโปรตีนสูง ให้กินปลาชนิดอาจจะย่อยไม่ทัน ถึงตายเลยที่เดียว








Red Taxas 
เท็กซัสแดงนั้นเป็นปลาที่ผสมข้ามสายพันธุ์ซึ่งหากปลาจะลอกออกมามีลวดลายสีแดงนั้นต้องใช้เวลา และความอดทนคือต้องรอให้ปลาลอกสีผิวก่อน จึงจะได้เห็นความสวยงามของปลา และสำหรับระยะ เวลาในการลอกของปลานั้นไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเมื่อไหร่ และการลอกของปลาแต่ละตัวก็ไม่ เท่ากัน บางครั้งปลาอาจจะลอกแต่ยังรุ่นๆ อยู่แต่บางครั้งก็ลอกเมื่อปลามีขนาดใหญ่
เนื่องจากเท็กซัสแดงเป็นปลาที่ผสมข้ามสายพันธุ์มาจึงไม่สามารถที่จะระบุ ตายตัวได้ในเรื่องของการเจริญเติบโตหรือขนาดของปลา แต่ที่สำคัญการ ลอกของสี รูปทรง และลวดลายสิ่งนี้สำคัญที่สุด โอกาสการลอกของปลาชนิด นี้นั้น
ประการแรก ขึ้นอยู่กับพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ แต่ก็ไม่ตายตัวเสมอไปเป็น เพียงประสบการณ์จากการทดลองเพาะพันธุ์ดู คือการคัดเลือกแม่พันธุ์ที่ ลอกง่าย ลุกที่ออกมาจะมีเปอร์เซ็นต์การลอกที่สูง เช่น เรานำเท็กซัสเขียว มาผสมกับคิงคองซึ่งเป็นแม่พันธุ์นั้น โดยที่คิงคองตัวนี้ลอกเมื่อมีขนาดเล็ก แต่อย่างไรก็ตามลูกที่ออกมานั้นก็ย่อมมีทั้งที่ลอกเร็ว และช้าอย่างแน่นอน
สำหรับปลาชนิดนี้นั้นจะยังคงความนิยมอีกเป็นเวลานานแน่นอนครับ ตราบใดที่ยังมีการขยายพันธุ์และพัฒนา เนื่องจากเท็กซัสแดงแต่ละตัว มีความสวยงามที่แตกต่างกัน ตลาดของผู้เลี้ยงจึงยังคงความนิยม และให้ ความสนใจอยู่ เท็กซัสแดงที่สวยและแปลกใหม่นั้นไม่ต้องพูดถึงราคาเลยราคา ย่อมสูงตามความสวย งาม และความแปลกใหม่
Red Texas นั้นเคยมีผู้นำมาผสมพันธุ์ขึ้นเมื่อหลายปีก่อนแต่ไม่ได้รับความนิยมกันเท่าไหร่นักจน เงียบหายไป เนื่องจากผู้ที่เล่นปลาชนิดนี้มีเพียงกลุ่มน้อยและการผสมจับคู่ก็ได้ปลาที่สวย ๆ นั้นมี จำนวนที่น้อย มีผลทำให้ รูปทรง มุก สีสัน ไม่ได้เป็นตามที่ต้องการกัน และส่วนใหญ่ก็เล่นกันใน วงแคบ ๆ จึงทำให้ปลาที่สวยมีคุณภาพมีจำนวนน้อย ความนิยมจึงหมดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น